บริษัท จี-เฮิร์บ จำกัด มีการจัดการธุรกิจโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 : ทองประเสริฐคลินิคเวชกรรม

ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2521 ตั้งอยู่ที่จังหวัดสิงห์บุรี โดยเริ่มคิดค้นและทดลองยาสมุนไพรต้านมะเร็ง และปัจจุบันเปิดเป็นคลินิกเพื่อรักษาผู้ป่วยมะเร็งแบบผสมผสาน

ส่วนที่ 2 : โรงงานทองประเสริฐโอสถ

ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2553 ตั้งอยู่ที่จังหวัดสิงห์บุรี เพื่อเป็นสถานที่ผลิตยาและบรรจุยา มีคุณอัศวิน ทองประเสริฐ (บุตรบุญธรรม) เป็นผู้บริหาร ผ่านการรับรองและตรวจสอบมาตรฐานการผลิตยาในระดับสากล (GMP-PIC/S) ในปี 2561

กระบวนการผลิต

  • 1. เตรียมวัตถุดิบ, สมุนไพร
  • 2. คัดแยก, ทำความสะอาด
  • 3. บดและอบสมุนไพร
  • 4. Spray Dry โดยใช้เทคโนโลยี Spray Drying Method
  • 5. ผสมยา
  • 6. อัด Capsule
  • 7. ทำความสะอาด Capsule
  • 8. คัดเลือก, แยก Capsule
  • 9. บรรจุผลิตภัณฑ์
  • 10. นำเข้าคลังสินค้า
  • 11. เตรียมส่งออกสินค้า

นอกจากจะมีโรงงานดูแลทุกขั้นตอนในกระบวนการผลิตแล้ว ยังมีพื้นที่ส่วนหนึ่ง ที่แบ่งไว้สำหรับปลูก, เก็บเกี่ยว, และคัดเลือกสมุนไพรที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตยา

ส่วนที่ 3 : ศูนย์กระจายสินค้าและจัดจำหน่ายยา บริษัท จี-เฮิร์บ จำกัด

บริษัท จี-เฮิร์บ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2554 เพื่อเป็นสถานที่จำหน่าย และศูนย์กระจายยาสมุนไพร ทุนจดทะเบียน 11,000,000 บาท ในปี พ.ศ. 2555 ยาสมุนไพร จี-เฮิร์บ แคปซูล วัน ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เลขที่ทะเบียน G75/55 บริษัท จี-เฮิร์บ มีศูนย์ใหญ่ ตั้งอยู่ที่ ถ.ประชานิเวศ กรุงเทพฯ

– มีสาขาเพื่อจำหน่ายและให้คำปรึกษา ทั่วทุกภาค ทั้งหมด 5 สาขา ได้แก่ เชียงใหม่, นครราชสีมา, ขอนแก่น, หาดใหญ่, ชลบุรี

– มีตัวแทนจำหน่ายที่ลงนามเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการ 4 รายใหญ่ รวมไปถึงบริษัท แมสมาร์เกตติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจัดจำหน่าย และกระจายสินค้ารายใหญ่ในประเทศไทย

ประวัติ คุณหมอสมหมาย ทองประเสริฐ

ประวัติโดยย่อ

ผู้ก่อตั้ง : นายแพทย์สมหมาย ทองประเสริฐ

ประวัติการศึกษา

เภสัชศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แพทย์ศาสตร์, ศิริราชพยาบาล

ประวัติการทำงาน

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิงห์บุรี
แพทย์ประจำสถานเสาวภา, สภากาชาดไทย
ศัลยแพทย์ โรงพยาบาลตำรวจ
ศัลย์แพทย์ โรงพยาบาลศิริราช

หมอสมหมายได้ทำการค้นคว้าวิจัยการแพทย์ทางเลือกอย่างสมุนไพร จึงทำให้เกิดเส้นทางใหม่ที่เรียกว่า “การแพทย์ทางร่วม” ในการรักษามะเร็ง หลังจากย้ายไปสร้างความเจริญให้กับโรงพยาบาลตำรวจ แล้วลาออกเพื่อไปเป็นหมอที่บ้านเกิด คือ โรงพยาบาลสิงห์บุรี ด้วยเหตุผลสั้นๆ ว่า “ที่นี่ผมได้ทำงานที่ตั้งใจ พร้อมได้อยู่ดูแลคุณแม่ไปพร้อมๆ กัน”

คลินิกหมอสมหมาย (ปัจจุบันคือ ทองประเสริฐโอสถ คลินิคเวชกรรม) จึงเกิดขึ้น ณ บ้านไม้หลังใหญ่ ข้างตลาดปลาสด จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งเป็นที่รู้จักดีของชาวบ้านละแวกนั้น รวมทั้งคนต่างจังหวัดที่เข้ามารับการรักษาตามคำร่ำลือถึงกิตติศัพท์ “หมอเทวดา” จากที่เคยเปิดการรักษาโรคทั่วไป ได้ถูกปรับปรุงให้เป็นสถานที่สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างจริงจัง…ท่ามกลางความหวังของผู้เข้าทำการรักษาจำนวนมาก

ค้นพบสมุนไพรรักษามะเร็ง

ในปีพ.ศ. 2498 ผมรับราชการเป็นนายแพทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิงห์บุรี ผมได้เป็นหัวหน้า และในขณะเดียวกันผมก็มีความเป็นตัวของตัวเอง ผมได้เริ่มเสาะหายาสมุนไพรที่จะมาช่วยในเรื่องรักษามะเร็ง ขณะนั้นคนกำลังฮือฮาในการใช้ต้นทองพันชั่งรักษามะเร็ง ผมก็ปลูกต้นทองพันชั่งไว้เป็นจำนวนมาก เมื่อมีคนไข้เป็นมาเร็งมารักษา ผมก็ลองใช้ทองพันชั่งต้มให้คนไข้กิน แต่เมื่อมาดูผลการรักษากลับพบว่ามันไม่ได้ผลทุกครั้งที่ผมตรวจคนไข้ OPD (ผู้ป่วยนอก) ผมก็พยายามถามถึงเรื่องตำรายาสมุนไพรรักษามะเร็งจากคนไข้และญาติเพื่อทดลองใช้ แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่ได้ผลสักที ปกติในวันเสาร์ – อาทิตย์นั้น ยังไม่มีคนไข้มากเท่าอย่างในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2508 บังเอิญผมขับรถไปเที่ยวป่าในวัน เสาร์ – อาทิตย์ ที่อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อเสาะหาปุ่มของต้นไม้ชนิดต่างๆ เพราะชอบสะสมปุ่มไม้ วันหนึ่งผมขับรถไปยังอำเภอวิเชียรบุรี ไปที่บ้านชาวไร่คนหนึ่ง เพราะทราบว่าชาวบ้านคนนี้มีปุ่มไม้ใหญ่ และผมก็ได้พบกับปุ่มไม้จริงๆ พร้อมกันนั้น ผมได้พบกับเจ้าของบ้านที่นั่งหายใจหอบเหนื่อยอยู่ในบ้าน และบังเอิญว่าเป็นผู้ที่เคยรู้จักกัน ผมจึงได้สอบประวัติได้ความว่ามีอาการไอ เหนื่อยหอบ จึงได้ไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลลพบุรี แพทย์ได้ทำการเอกซเรย์ปอดแล้วบอกว่ามีน้ำท่วมปอด แพทย์เจาะน้ำออกจากปอดและเจาะชิ้นเนื้อเยื้อส่งตรวจที่กรุงเทพฯ ผลการตรวจสรุปออกมาว่าเป็นมะเร็งปอดและน้ำท่วมปอด แพทย์ลพบุรีจะส่งคนไข้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช แต่ผู้ป่วยไม่ยอมไป ด้วยเหตุเพราะใกล้ๆ บ้านผู้ป่วยมีแพทย์แผนโบราณรักษาโรค มะเร็งด้วยสมุนไพร ผมได้ลองตรวจสอบดูพบว่ามีน้ำท่วมปอดจริง ผู้ป่วยไม่สามารถนอนได้ ต้องใช้การนั่งพิงแทน จากนั้นผมก็ลาคนไข้กลับและไม่ได้สนใจคนไข้คนนี้อีก 8 เดือนต่อมาผมได้กลับมาที่บ้านผู้ป่วยคนเดิม ตอนนั้นคิดว่าผู้ป่วยได้เสียชีวิตแล้ว ตั้งใจจะไปซื้อปุ่มไม้ที่ตั้งอยู่ในบ้านผู้ป่วย จากภรรยาผู้ป่วย แต่แทนที่จะพบผู้ป่วยเสียชีวิต กลับพบว่าผู้ป่วยมีชีวิตอยู่และเดินเหินได้ปกติ กรณีนี้ทำให้ผมสนใจมากและได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลลพบุรี เมื่อพบแพทย์ที่รักษาผู้ป่วยรายนี้และขอดูหลักฐานรายงานและผลเอ็กซเรย์ของผู้ป่วย แต่แพทย์หาให้ไม่ได้ ผมจึงคิดว่าผู้ป่วยรายนี้ไม่น่าจะเป็นมะเร็งปอดและแพทย์คงตรวจผิด ผมจึงไม่ได้สนใจยาสมุนไพรตำหรับนี้

ต่อมาปี พ.ศ. 2512 มีพ่อค้าคนหนึ่งที่เคยอยู่ตลาดสิงห์บุรี แล้วได้ย้ายไปทำมาหากินที่กรุงเทพ ได้กลับมาอยู่ที่สิงห์บุรีผมทราบข่าวว่าเขาเป็นมะเร็งและเป็นมากแล้ว จึงเดินทางไปเยี่ยมพบว่าผู้ป่วยผ่ายผอมไปมาก ที่ลิ้นมีแผลเต็มไปหมด มีเลือดซึมตลอด กลิ่นเหม็น หุบปากไม่ได้ มีก้อนน้ำเหลืองใต้คางก้อนโตมากผู้ป่วยต้องใช้อ่างรูปไตรองใต้คาง ถามผู้ป่วยก็ทราบว่าเป็นมะเร็งที่ลิ้น รักษาด้วยวิธีฉายแสงที่โรงพยาบาลรามาธิบดี แต่อาการไม่ดีขึ้นแพทย์ให้กลับมาอยู่ที่บ้านบอกรักษาไม่ได้ให้ใช้ยาแก้ปวด เท่านั้น

เมื่อผมเห็นเช่นนี้ จึงนึกถึงสมุนไพรที่อำเภอวิเชียรบุรีจึงได้แนะนำให้ผู้ ป่วยใช้ยาขนานนี้ดู ผู้ป่วยตอบตกลง ผมจึงไปขอสมุนไพรมาทั้งหมด 4 หม้อ โดยผมเป็นคนต้มยาให้คนไข้เองต้มจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว แล้วให้คนไข้หยดใส่ปากกินให้หมดใน 1 วันหม้อ ต้มกินได้ 15 วัน ผู้ป่วยกินแต่ยาสมุนไพร อาหารน้ำและยาแก้ปวด โดยไม่ใช้ยาอะไรเลย ทว่าอาหารของผู้ป่วยกลับดีวันดีคืน แผลที่ลิ้นค่อยๆยุบลง กลิ่นเหม็นก็น้อยลง ก้อนใต้คางก็ยุบลง น้ำหนักตัวเริ่มเพิ่มขึ้น อาการค่อยๆดีขึ้น และคนไข้เริ่มพูดได้

ผมจึงไปขอยาสมุนไพรมาอีก 4 หม้อ ให้ต้มรับประทานเหมือนเดิม อาการของคนไข้ก็ดีวันดีคืนขึ้นเรื่อยๆ พอครบ 4 เดือน ลิ้นยุบลงมากจนแผลหายเหลือก้อนเท่าไข่นกกระทา ติดแน่นตรงใต้คาง ผมก็ไปขอยามาอีก 4 หม้อ ต้มให้กินทุกวันจนครบ 6 เดือนผู้ป่วยมีอาการเหมือนคนปกติ อ้วนขึ้น เดินไปตลาดได้ ผมแนะนำผู้ป่วยว่า ควรไปทำการผ่าตัดก้อนที่คางและแผลที่ลิ้นออกแต่ผู้ป่วยไม่ยอม บอกว่าเมื่อกินยุบแล้ว ขอกินยาต่อไปเรื่อยๆ ผู้ป่วยมีอาการดีอยู่ 6 เดือนแผลที่ลิ้นก็เริ่มบวมและแตก ในที่สุดผู้ป่วยก็ถึงแก่กรรม เพราะเลือดออกที่ลิ้นมาก

จากการติดตามผู้ป่วยรายนี้ด้วยตนเองทุกวัน จึงเห็นว่ายาสมุนไพรตำรับนี้มีประโยชน์ในการรักษามะเร็ง ผมจึงไปขอสูตรยาตำหรับนี้จากแพทย์แผนโบราณเท่านั้น แต่ท่านไม่ยอมให้เพราะท่านบอกว่าท่านเคยรักษาโรคมะเร็งหายมาหลายรายแล้วแต่ หมอแผนปัจจุบันไม่ยอมรับ

การรักษาได้รับการยอมรับจากสากล

ประมาณเดือนกันยายน – ตุลาคม พ.ศ. 2517 มีเลกเชอร์ทัวร์ ของคณะออโธปิติกส์จากกรุงเทพ ไปประชุมที่นครสวรรค์ ผมเห็นเป็นโอกาสดีที่ได้นำเสนอเรื่องคนไข้มะเร็งที่หัวเข่า จังหวัดตราด ผมจึงไปประชุมด้วย พร้อมทั้งขอรายการเฉพาะคนที่เป็นมะเร็งหัวเข่าในที่ประชุม รวมทั้งแฟ้มของ โรงพยาบาลเลิดสินและของผม พร้อมทั้งขอร้องว่าถ้าพบคนไข้เช่นนี้ กรุณาอย่าตัดขา ให้ส่งให้ผมรักษาจะได้มีผลงานออกมามากๆ แต่ผมก็ไม่เคยได้คนไข้จากโรงพยาบาลเลย

เมื่อผมเห็นว่าทางการแพทย์ของเราไม่สนใจผลงานของผม ผมจึงเขียนจดหมายไปหาดอกเตอร์แชงค์ (Shank) ผู้ซึ่งเป็นไดเรกเตอร์ทอกซิโคโลยีของรัฐแคลิฟอเนีย (Director of Toxicology California) ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2517 บอกว่าผมพบสมุนไพรหนึ่งตำรับ โดยให้คนไข้เป็นมะเร็งกินยาต้มเพียงอย่างเดียว มะเร็งก็สามารถยุบได้ ดอกเตอร์แชงค์ (Shank) ติดต่อผมมาทันที ว่าขอให้เตรียมคนไข้มะเร็งที่กินยาต้มแล้วยุบไว้ให้ดู พร้อมทั้งเอกซเรย์ รายงานและผลชิ้นเนื้อต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2517 ดอกเตอร์แชงค์ (Shank) บินมาหาผมที่สิงห์บุรีพร้อมโปรเฟสเซอร์นิวบิ์รน เพื่อนซึ่งเป็นปาโทโลยีสต์ (Pathologist) เมื่อผมรายงานคนไข้ที่เตรียมไว้พร้อมชิ้นเนื้อให้ดูดอกเตอร์แชงค์ (Shank) ก็ยอมรับว่ายาต้นตำรับนี้น่าจะเป็นประโยชน์ในการรักษามะเร็ง

ดอกเตอร์แชงค์ขอนำยาต้นตำรับนี้พร้อมตัวยาไปทำการค้นคว้าวิจัยที่อเมริกา แต่ผมไม่ยอม เพราะผมอยากให้เมืองไทย คนไทยมีชื่อเสียงในการค้นคว้ายารักษามะเร็ง เมื่อเป็นเช่นนี้ดอกเตอร์แชงค์ (Shank) ก็ให้ผมเลือกว่าจะทดลองมะเร็งชนิดใด ผมเสนอว่าขอทดลองกับมะเร็งเต้านมเพราะอวัยวะที่อยู่ภายนอกโตและเห็นง่ายเมื่อดอกเตอร์แชงค์ (Shank) กลับไปอเมริกาแล้วก็ได้ส่งคาร์ซิโนเจน

(Carcinogen) ชนิดที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมในหนูนามานาน และผมก็ได้ร่วมทำการทดลองกับอาจารย์ท่านหนึ่งที่มหาวิทยาลัยมหิดลโดยผมต้มยา ชนิดที่ข้นจนเกือบเหนียวส่งไปให้ทดลองทุก 7 วัน ผลการทดลองก็มีเค้าให้เห็นว่ายาต้มนี้สามารถทำให้หนูที่เกิดมะเร็งเต้านมยุบได้ แต่ทำได้เพียง 3 ปี อาจารย์ท่านนี้ก็ไปเรียนปริญญาเอกต่อที่อเมริกา การทดลองจึงต้องยุติลงในพ.ศ. 2520 และอาจารย์ท่านนี้เมื่อกลับมาจากอเมริกาก็ไม่ได้สนใจที่จะทดลองยานี้ต่อ

พ.ศ. 2518 ผมได้เลื่อนขึ้นเป็นนายแพทย์ใหญ่ คือ นายแพทย์สาธารณสุข ประจำจังหวัดสิงห์บุรีและจะลาออกจากราชการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2521 ขณะนี้เป็นข้าราชการบำนาญกระทรวงสาธาณสุข การที่ลาออกก่อนเกษียณอายุราชการเพราะต้องการค้นคว้าและรักษามะเร็งด้วย สมุนไพรเพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องมีภาระกับหน้าที่ราชการ

จากเคสการใช้ยาต้มสมุนไพรรักษามะเร็งปากใน ปี พ.ศ. 2512 แม้ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา เนื่องเสียเลือดมากจากก้อนมะเร็งแตก แต่ก็สามารถยื้อชีวิตผู้ป่วยให้อยู่ได้นานขึ้นอย่างไรก็ตาม หลังจากเคสดังกล่าว ก็ทำให้เห็นว่า ยาสมุนไพรนั้นน่าสนใจมาก ๆ จึงเดินทางไปขอยาตำหรับนี้จากแพทย์แผนโบราณท่านนั้นอีกครั้ง เพื่อจะนำมารักษาคนไข้ถึงที่บ้านเขาเลย โดยคุณตาคนนี้มีชื่อว่า “คุณตาฉ่ำ วงศ์เกษมรัตน์” ตนต้องบอกเลยว่า สุขภาพเขาแข็งแรงดีมาก ตอนที่เขาอายุ 100 ปี ยังอ่านหนังสือได้โดยไม่ต้องใส่แว่นเลยทีเดียว และเมื่อไปถึงบ้านภรรยาของคุณตาก็บอกว่า คุณตาวัน ๆ เอาแต่ต้มยา และนี่ก็กำลังจะต้มยาอายุวัฒนะ ตนจึงขอจดตำราดังกล่าวเก็บไว้ด้วย

หลังจากนั้น การรักษาด้วยยาสมุนไพรก็ค่อย ๆ กลายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าชาวไทย หรือชาวต่างชาติ ต่างก็มาขอให้รักษากันมากมายไปหมด ส่วนคนไข้ที่มาจากต่างประเทศนั้น ส่วนมากเขารู้จักตนทางอินเทอร์เน็ต อย่างเช่นผู้ชายคนหนึ่งขาเหวอะเนื่องจากเป็นมะเร็ง และจะต้องถูกหมอตัดขา จึงเดินทางมาหาตนที่ประเทศไทย แต่เมื่อตนดูจากสภาพแผลแล้ว ตนเห็นว่ายังไม่ต้องผ่าตัดก็ได้ แต่แผลนี้มันจะไม่สามารถรักษาหายขาด ทำได้เพียงให้มันยุบลงไปเท่านั้น ซึ่งผลการรักษาก็เป็นที่น่าพอใจ คนไข้แผลยุบลง และไม่ต้องตัดขา

ส่วนทางด้าน นายอัศวิน ทองประเสริฐ ลูกชายของคุณหมอสมหมาย ซึ่งเป็นผู้จัดการคลินิก “นายแพทย์สมหมาย” ถนนสิงห์บุรี-อ่างทอง อ.เมือง จ.สิงห์บุรี ได้เล่าว่า คลินิกแห่งนี้เปิดรับการรักษาเวลา 6 โมงเช้า แต่ประตูคลินิกจะเปิดตี 5 กว่า ๆ เนื่องจากผู้ป่วยใหม่จะได้ทำประวัติและสอบถามอาการไปด้วยว่า เป็นมะเร็งชนิดไหน รักษาโรงพยาบาลใด และทำการรักษาอะไรมาบ้างแล้ว พร้อมกับดูใบประกอบการรักษา ส่วนผู้ป่วยบางราย ที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ คุณหมอสมหมาย ก็จะเดินไปหา และไปตรวจถึงที่

นายอัศวิน เล่าต่อว่า สำหรับคนไข้ที่มารักษานั้น ในผู้หญิงส่วนมากจะป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ส่วนผู้ชายจะป่วยเป็นมะเร็งตับ โดยคุณหมอสมหมายจะทำการรักษาเดือนละ 1 ครั้ง เมื่อครบ 1 เดือนก็จะนัดมาดูอาการอีกที ส่วนคลินิกแห่งนี้ จะปิดในวันพฤหัสบดี และวันศุกร์ และปิดก็ต่อเมื่อรักษาคนไข้คนสุดท้ายเสร็จ บางครั้งก็รักษาเสร็จ 5 ทุ่มบ้างก็มี

“คุณพ่อท่านรักในวิชาชีพเป็นอย่างมาก สมมติว่าวันหยุดคลินิกเราต้องเตรียมตัวไปเที่ยวกัน แต่เมื่อเปิดประตูบ้านมีคนไข้รออยู่ ทริปนั้นก็จะล่มลงทันที (ยิ้ม) … ตอนนี้คุณพ่อก็อายุ 92 แล้ว แต่ก็ยังรักษามะเร็งอยู่ทุกวัน โดยไม่คำนึงถึงความเจ็บป่วยใด ๆ เลย และหากท่านใดที่หมดกำลังใจ ท่านก็จะให้กำลังใจ ท่านเป็นตัวอย่างที่ดีที่สอนผมในทุก ๆ เรื่อง และเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้สูงอายุทั่วไปที่สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บไม่ป่วย ท่านเป็นคุณหมอที่มีจรรยาบรรณ พร้อมรักษาทุกคน ที่ผ่านมาผมรู้ว่าท่านเหนื่อย แต่ความสุขของท่าน ก็คือการที่รักษาคนไข้ได้สำเร็จ แค่เพียงท่านได้ยินว่า หนูหายแล้วค่ะ หนูดีขึ้นแล้วค่ะ ท่านก็จะยิ้มทุกครั้ง และนี่ก็เป็นความสุขของท่าน” คุณอัศวิน ลูกชาย กล่าว